Odoo10 (โอดู) ระบบ ERP (อีอาร์พี) สำหรับการบริหารงานภายในธุรกิจขององค์กร
ระบบ ERP (อีอาร์พี) Odoo 10 (โอดู สิบ) หรือชื่อเดิมคือ OpenERP (โอเพ่น อีอาร์พี) โดย ERP (อีอาร์พี) ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning (เอนเทอไพรส ริโซซ แพลนนิ่ง) เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เป็น OpenSource (โอเพ่นซอร์ส) ที่เหมาะกับการบริหารงานภายในธุรกิจหรือระบบองค์กร ซึ่งภายใน Odoo (โอดู) จะประกอบไปด้วยโมดูลหลายๆโมดูล เช่น ในส่วนของ HR (เอสอาร์) , Point of Slae (พ้อยท์อ็อปเซล), Accouting (แอคเค้าท์ติ้ง) , Expenses (เอ็คซเพนซ) เป็นต้น โดยการทำงานเป็นการทำงานแบบเรียลไทม์ ทำให้ข้อมูลมีการอัพเดตและถูกต้อง ใน Odoo 10 สามารถทำงานได้ทั้งแบบ Offline และแบบ Online โดยหากทำแบบ Offline ข้อมูลจะอัพเดตก็อต่อเมื่อเราทำการ Sync (ซิงค์) ข้อมูล ใน Odoo (โอดู) จะมี 2 ระบบ ระบบหน้าบ้าน และ ระบบหลังบ้าน
ส่วนประกอบโมดูล แต่ละโมดูล ใช้ทำอะไร ซึ่งเป็นระบบหลังบ้านระบบ ERP ของ Odoo 10
- Human Resources Management (ฮยูแม็น ริโซซ เมเนจเม้นท์)โดยมีส่วนย่อยภายในโมดูลอีกเช่น
->> timesheets (ไทม์ชีท) เป็นการตรวจสอบเวลาเข้าออกของพนักงาน หรือตรวจสอบบันทึกของพนักงานแต่ละคนว่าในแต่ละวันทำงานอะไรบ้าง
->> Leave Management (ลีฝ เมเนจเม้นท์) เป็นการตรวจสอบว่าวันไหนมีพนักงานคนใดลาบ้าง ลาเป็นระยะเวลากี่วัน
->> Expense Tracker (เอ็คซเพนซ แทร็ก) เป็นการทำใบเบิกรายจ่าย โดยทำรายการเบิกได้ทีละรายการ
- Point of Sales (พ้อนท์ อ็อป เซล) โดยในส่วนของ Point of Sale จะมีสองส่วน
->> แบบร้านค้า เป็นการเช็คยอดในการขายของว่ามีเงินอยู่เท่าไหร่ ขายของแล้วได้เท่าไหร่ แล้วรวมเงินที่มีอยู่กับเงินที่ขายได้ ให้ตรงกับเงินในระบบ และการออกใบกำกับภาษีแบบย่อและแบบเต็มรูปแบบ
->> แบบร้านอาหาร เป็นการจัดการร้านอาหารว่าโต๊ะแต่ะละโต๊ะนั่งได้กี่คน ลูกค้าสั่งอะไรบ้างแล้วทำการส่งรายการอาหารไปที่ห้องครัว การคำนวณค่าอาหารทั้งหมด
- Manufacturing (แมนิวแฟคเชอะริ่ง) หรือ MRP (เอ็มอาร์พี) เป็นเหมือนการตัดสต็อคสินค้า ว่าการผลิตนี้ใช้วัสดุอะไรไปบ้างแล้วเหลือเท่าไหร่
- WareHouse (แวร์เฮ้าท์) เป็นระบบช่วยในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ เหมือนการติดตามข้อมูลสินค้าว่าเหลือเท่าไหร่
- Accounting (แอคเค้าท์ติ้ง) เป็นเหมือนการคำนวณค่าแรงของพนักงานได้หลายรูปแบบ เช่นพนักงานพาร์ทไทม์ สามารถคำนวณตามค่าแรงเป็นชั่วโมง ว่าชั่วโมงละเท่าไหร่เป็นเวลากี่วัน
ระบบหน้าบ้านระบบ ERP ของ Odoo 10
- Online Website (เว็บไซต์) ใน Odoo (โอดู)
->> CMS Build Website (ซีเอ็มเอส บิ้วด์ เว็บไซต์) เป็นการสร้างเว็บไซต์เองได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ก็สามารถทำได้ โดยการลากแบบฟอร์มที่ให้แล้วปรับแต่งให้ตรงกับที่เราต้องการได้เอง และรองรับได้หลายภาษา
->> Web Blog (เว็บบล็อค) เป็นเหมือน blog ของเราเอง เช่น WordPress (เวิร์ดเพรส)
->> Web Board (เว็บบอร์ด) เป็นเหมือนการแชร์ความรู้ หรือต้องการสอบถามอะไรเพิ่มเติม ได้ที่ Board เช่น phpBB (พีเอชพีบีบี)
->> Web E-commerce (เว็บ อี-คอมเมิร์ช) เป็นเว็บไซต์ในการซื้อขายของ เช่น โปรแกรม Magento (มาเจนโต้) แบบ e-bay (อี-เบย์)
->> Web Live Chat (เว็บ ไลฝ แชท) เป็นการพูดคุยกัน เช่นลูกค้าสั่งซื้อของกับแม่ค้า ผ่าน live chat (ไลฝ แชท)
นากจากนี้หากใครสนใจตัวระบบ ERP อย่าง OpenERP หรือ Odoo แต่ยังทราบรายละเอียดไม่เพียงพอทางบริษัทก็ได้มีการจัด อบรมแนะนำ Features Odoo 10 ERP สำหรับองค์กร ซึ่งสามารถที่จะทำการลงทะเบียน เพื่อทำการเข้าอบรม เพื่อทำความรู้จักกับ OpenERP หรือ Odoo แล้วสามารถที่จะนำความรู้จากการอบรมเพื่อใช้งานระบบ ERP ในองค์กร ได้ค่ะ อีกทั้งยังมีบริการติดตั้งระบบ OpenERP, บริการติดตั้งระบบ Odoo, บริการพัฒนา Module OpenERPบริการติดตั้งและพัฒนาระบบ POS สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Support MD Soft ค่ะ
บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี ซอฟต์ จำกัด)
บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo