ความแตกต่างของ ระบบ ERP อีอาร์พี และ ระบบ CRM ซีอาร์เอ็ม
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

ความแตกต่างของ ระบบ ERP (อีอาร์พี) และ ระบบ CRM (ซีอาร์เอ็ม)

ความแตกต่างของ ระบบ ERP อีอาร์พี และ ระบบ CRM ซีอาร์เอ็ม
ความแตกต่างของ ระบบ ERP อีอาร์พี และ ระบบ CRM ซีอาร์เอ็ม

     มีใครเคยสงสัยไหมว่าจะมีบริษัทสักกี่รายที่วางระบบ ERP (อีอาร์พี) หรือ Enterprise Resource Planning แล้วได้ใช้ซอฟต์แวร์ ERP เพื่อการวางแผนทรัพยากรขององค์กรอย่างจริงจัง ตามความหมายของ ERP

     ความตั้งใจเดิมของระบบ ERP คือต้องการรวบรวมระบบต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กรเข้าด้วยกัน อาศัยอยู่บนระบบคอมพิวเตอร์เดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบการผลิต ระบบการขาย เป็นต้น ซึ่งบ่อยครั้งที่เราจะเรียกระบบ ERP ว่าเป็นระบบส่วนหลัง หรือ Back office

     บางคนอาจจะพอทราบว่าระบบอีอาร์พีก็มาจากระบบ MRP (เอ็มอาร์พี) หรือ Material Requirements Planning ที่เป็นการวางแผนความต้องการวัสดุ ทั้งส่วนที่โรงงานผลิตเองหรือส่วนที่ซื้อมาจากภายนอก และก็มาเป็นเอ็มอาร์พี 2 (MRP2 - Manufacturing Resource Planning) ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในการวางแผนการผลิต จนสุดท้ายทุกคนก็เรียกรวมกันว่าเป็นระบบ ERP ซึ่งบ่อยครั้งปัญหามักจะเกิดขึ้นเสมอกับระบบที่ต้องอาศัยการประสานงานกัน หลายๆ ฝ่าย เช่น การวางแผนทรัพยากรโดยฝ่ายผลิตมิได้หมายความว่าทุกฝ่ายจะต้องอาศัยอยู่บนแผนงานนี้เสมอ เป็นต้น

     หลายท่านที่ได้ลงมือวางระบบ ERP เรียบร้อยและได้ใช้งานมาระยะหนึ่ง ท่านมักได้รับการติดต่อจากผู้ให้บริการรายเดิมด้วยระบบ CRM (ซีอาร์เอ็ม) พร้อมกับรับประกันว่าจะสามารถวางระบบ CRM (ซีอาร์เอ็ม) ได้ภายใน 3 เดือนหรือสั้นกว่านั้น อาจจะไม่รู้จักซอฟต์แวร์ CRM ทั้งหมด แต่รับประกันได้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าซอฟต์แวร์ CRM (ซีอาร์เอ็ม) เป็นเพียงแค่เครื่องมือช่วยการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเท่านั้น ซึ่งยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้ระบบ CRM ประสบความสำเร็จได้ หากคุณประสบความสำเร็จในการวางระบบ ERP (อีอาร์พี) ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะประสบความสำเร็จใน CRM  ด้วย เพราะว่าสิ่งที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากก็คือการปฏิบัติ (Implementation)

กระบวนการของธุรกิจมาใช้กับซอฟต์แวร์ระบบ CRM กับ ระบบ ERP

     เมื่อคุณลงมือปฏิบัติระบบ ERP คุณจะมี 3 ทางเลือกให้เลือก คือ นำกระบวนการของธุรกิจมาใช้กับซอฟต์แวร์ หรือ เปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ให้ตามกระบวนการของธุรกิจปัจจุบัน หรือ เปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ให้ตามกระบวนการของธุรกิจที่ออกแบบใหม่แต่สำหรับระบบซีอาร์เอ็มแล้ว การลงมือปฏิบัติจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างน้อยระบบอีอาร์พีไม่ได้พูดถึงการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบ CRM คราวนี้ถ้าคุณจะลงมือปฏิบัติระบบ CRM คุณจะต้องเข้าใจแนวความคิดต่างๆ ดังนี้

     ลูกค้าหมายถึงบุคคลผู้ตัดสินใจซื้อสินค้า แตกต่างจากผู้บริโภคที่หมายถึงผู้ใช้สินค้าและบริการ และก็แตกต่างจากผู้จ่ายที่หมายถึงผู้จ่ายเงินสำหรับค่าสินค้าและบริการ คุณต้องเข้าใจบุคคลทั้งสามนี้และทราบถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ทั้งสามบุคคลอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้

     หนึ่ง อะไรคือความหมายของลูกค้า

     สอง คุณจะต้องเข้าใจความหมายของ CRM อย่างชัดเจน บริษัทที่คิดอย่าง CRM (ซีอาร์เอ็ม) จะคิดว่าความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นสินทรัพย์ของบริษัทเลยทีเดียว ที่จะต้องพยายามรักษามันไว้ตลอดเวลา และที่สำคัญคุณจะต้องมองเห็นความแตกต่างระหว่างงานบริการลูกค้ากับซีอาร์เอ็มด้วย

     สาม ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะพร้อมสำหรับระบบ CRM เหมือนกัน แม้กระทั่งบางอุตสาหกรรมก็ยังมีความพร้อมไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ ระบบ CRM ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่บริษัทไม่ควรคำนึงถึง ดังนั้น อย่าปล่อยให้โอกาสมาหาเราเอง คุณจะต้องออกแบบกลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเองด้วยและใช้ ซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือเท่านั้น

     ในส่วนของการพัฒนาโปรแกรมระบบ CRM สามารถติดต่อทางบริษัท เอ็ม.ดี. ซอฟต์ จำกัด ซึ่งทางเราจะให้ บริการระบบ CRM สำเร็จรูป และบริการพัฒนาระบบ CRM , ERP ระบบ บริหารงาน ภายในองค์กร พร้อมกับการอบรมการใช้งานครบวงจร โดยสามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ที่ ติดต่อเรา หรือจะฝากคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการของเราได้ที่ เว็บบอร์ด

บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี.ซอฟต์ จำกัด)

พัฒนาโปรแกรมบนเว็บ PHP บริการพัฒนา Joomla Extension พัฒนาและปรับแต่งเว็บบอร์ด phpBBพัฒนาระบบ CRM