การนำระบบ ERP ไปประยุกต์ใช้งานจริงเพื่อปรับปรุง SMEs
ระบบ ERP เป็นโปรแกรมที่มีรับข้อมูลการทำงานประจำวัน Transaction (ทรานเซกชัน) เช่น การขายในแต่ละวัน ข้อมูลถูกนำมาเชื่อมโยงกับฝ่ายบัญชี เพื่อบันทึกลงสมุดรายงานประจำวัน, สร้างเอกสารเพื่อรอตัดสินค้าออกจากคลังสินค้าเพื่อส่งไปยังลูกค้า, สร้างคำสั่งเพื่อทำการสั่งผลิต, หรือการสร้างคำสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น ทั้งนี้เอกสารจะเชื่อมโยงโดยการตั้งค่าการทำงานต่าง ๆ เช่น ผังบัญชี การเชื่อมโยงบัญชีการลูกค้า สูตรการผลิต ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น
ดังนั้น ระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระบบงานทางด้านการจัดซื้อ-จัดจ้าง การผลิต การเงินและการบัญชี การบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารสินค้าคงคลัง ตลอดจนระบบการขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานขององค์กรวิสาหกิจลง และเป็นระบบที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกขนาดในปัจจุบัน ซึ่งหากไม่มีระบบ ERP ผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะแข่งขันได้อีกในอนาคตอันใกล้
สาเหตุที่ SMEs ต้องมีการประยุกต์ใช้ ERP ยกตัวอย่างเช่น
- ข้อมูลในการดำเนินกระบวนการทางธุรกิจของบริษัท ยังแยกเป็นฝ่าย เป็นแผนก ขาดการจัดเก็บ ทำให้เกิดความล่าช้าและความผิดพลาดสูง ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่เพิ่มมูลค่าจากกระบวนงานเหล่านี้ ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าขายสูงขึ้น
- ความไม่สามารถควบคุมทรัพยากรของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน วัตถุดิบ เครื่องจักร สินค้าระหว่างการผลิตและสินค้าคงคลังได้อย่างครอบคลุม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นตัวช่วยในการวางแผนการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบให้ทันตามความต้องการของลูกค้า
- บริหารจัดการการเงินการบัญชีอย่างไม่มีประสิทธิภาพ สำหรับธุรกิจ SMEs การละเลยเรื่องของใบสั่งสินค้า การบริหารลูกหนี้และเจ้าหนี้การค้าที่มีความหละหลวมอาจสร้างปัญหาให้กับฝ่ายการเงินของบริษัทได้
- ขาดการวางแผนและระบบที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจ SMEsอาจจะเจอกับปัญหาหากต้องแข่งขันกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากระบบงานเป็นระบบเก่าที่ไม่เหมาะสมกับรูปแบบการผลิตและความต้องการของลูกค้าสมัยใหม่
- การรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมทำได้ยาก เมื่อการเชื่อมโยงของกิจกรรมต่าง ๆ ขยายขอบเขตใหญ่ขึ้น เกิดความซับซ้อนในการเชื่อมโยงกิจกรรม จะทำให้การรับรู้สภาพหรือผลของกิจกรรมในแผนกต่าง ๆ ทำได้ยากขึ้น ไม่สามารถส่งข้อมูลให้ผู้บริหารรับรู้ได้ทันที คือจะทำให้ผู้บริหารสามารถรับรู้ถึงข้อมูลที่บ่งบอกสภาพความเป็นจริงของกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่อย่างทันทีทันการณ์ได้ยากขึ้น
ซึ่งการทำงานจะกล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างการทำงานในส่วนของการบัญชี ซึ่งในส่วนนี้ทางบริษัทก็ได้มีการจัด อบรมแนะนำ Features Odoo 10 ERP สำหรับองค์กร ซึ่งสามารถที่จะทำการ ลงทะเบียน เพื่อทำการเข้าอบรม เพื่อทำความรู้จักกับ OpenERP หรือ Odoo แล้วสามารถที่จะนำความรู้จากการอบรมเพื่อใช้งานระบบ ERP ในองค์กร ได้ค่ะ
บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี ซอฟต์ จำกัด)
บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo