ทำความรู้จักกับ งบการเงินรวม  Consolidate Financial Statement
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

"งบการเงินรวม" ( Consolidate Financial Statement ) คืออะไร

     งบการเงินรวม หรือ Consolidate Financial Statement (คันซอล'ลิเดท ไฟแนนเซียล สเต็ทเม้น) คือ การที่บริษัทผู้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญในบริษัทผู้ถูกลงทุนเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 โดยมีอำนาจควบคุมบริษัทผู้ถูกลงทุน บริษัทผู้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญเรียกว่าเป็นบริษัทใหญ่ บริษัทผู้ถูกลงทุนเรียกว่าเป็นบริษัทย่อย บริษัทใหญ่มีหน้าที่จัดทำงบการเงินรวมเพิ่มเติมจากงบการเงินปกติของกิจการที่ต้องจัดทำเป็นปกติอยู่แล้ว นั่นก็คือ งบการเงินรวม

ความหมายของงบการเงินรวม

     งบการเงินรวม หมายถึง งบการเงินของกลุ่มกิจการ (ซึ่งกลุ่มกิจการ หมายถึง บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย) ที่มีการนำเสนอสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าผู้ถือหุ้น รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสดของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเสมือนว่าเป็นของหน่วยงานทางเศรษฐกิจหน่วยงานเดียวกัน

     ในกรณีที่บริษัทใหญ่ไม่ได้ซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดในบริษัทย่อยจะมีผู้ถือหุ้นสามัญอื่นที่ไม่มีอำนาจควบคุมบริษัทย่อย ซึ่งเรียกว่า ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม เช่น บริษัทใหญ่ถือหุ้นสามัญในบริษัทย่อย 90% ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ก็จะเท่ากับ 10% เป็นต้น

การจัดทำงบการเงินรวม

     การจัดทำงบการเงินรวมเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง “งบการเงินรวม” ซึ่งบริษัทใหญ่จะต้องจัดทำเพิ่มเติมจากงบการเงินเฉพาะบริษัท ดังนั้น ในการจัดทำงบการเงินรวมจึงต้องทำในกระดาษทำการ ไม่ได้ลงบันทึกบัญชึแต่อย่างใด โดยการนำงบการเงินเฉพาะของบริษัทใหญ่และงบการเงินเฉพาะของบริษัทย่อยในปีที่จะทำงบการเงินรวมมาลงในกระดาษทำการ แล้วตัดรายการระหว่างกันออกไป หลังจากนั้นก็รวมรายการต่างๆ ของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเหลือเฉพาะรายการที่บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเท่านั้น

     ในกรณีที่มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ให้แยกแสดงส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไว้เป็นรายการหนึ่งต่างหากในงบการเงินรวมทั้งงบกำไรขาดทุนรวมและงบแสดงฐานะการเงินรวม ถ้าเป็นงบแสดงฐานะการเงินรวมให้แสดงส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไว้ภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น

รายการระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยที่ต้องตัดออกไป ได้แก่

1) ตัดบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย (อยู่ในงบการเงินของบริษัทใหญ่) กับส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทย่อย(อยู่ในงบการเงินของบริษัทย่อย)
2) ตัดรายการระหว่างกันอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ตัดบัญชีลูกหนี้กับบัญชีเจ้าหนี้ ตัดบัญชีหุ้นกู้กับบัญชีเงินลงทุนในหุ้นกู้ ตัดบัญชีขายกับบัญชีซื้อ เป็นต้น

     นอกจากนี้ทางบริษัท เอ็ม.ดี. ซอฟต์ มีบริการติดตั้งระบบ OpenERP, บริการพัฒนา Module OpenERP รวมไปถึงการจัดอบรมการใช้งาน Odoo9 เบื้องต้น สำหรับการนำไปใช้งาน ERP ในองค์กร ท่านสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอบรมได้ที่ ลงทะเบียนอบรม Odoo9 ค่ะ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : บริษัทควรจะเลือกใช้ โปรแกรมบัญชี หรือ ERP อีอาร์พี ดี ?การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจเกษตรความหมายระบบบัญชีคู่ Double entry bookkeeping ดับเบิล เอนทริ บุ๊คคีพอิงวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี ซอฟต์ จำกัด)

บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo