ทำความรู้จักกับสมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger)
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

      ทำความรู้จักกับสมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger) สมุดบัญชีแยกประเภทเป็นสมุดบัญชีขั้นปลายที่ใช้บันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยจำแนกออกให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการ ที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการสรุปผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการ ซึ่งสมุดบัญชีแยกประเภทสามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ชนิด คือ

     1.สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)

สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)
สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)


     เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทหลักที่กิจการจะต้องจัดทำ โดยสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปนี้จะประกอบไปด้วยบัญชีต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น บัญชีเงินสด บัญชีลูกหนี้ บัญชีเจ้าหนี้ บัญชีรายได้ บัญชีค่าใช้จ่าย เป็นต้น

     2.สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger)

สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger)
สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger)


     เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทย่อยที่กิจการจะจัดทำหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าจัดทำก็จะช่วยให้ทราบข้อมูลได้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งสมุดบัญชีแยกประเภทย่อยจะประกอบด้วย
     - สมุดบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (Accounts Payable Ledger)
     - สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (Accounts Receivable Ledger)

รูปแบบของสมุดบัญชีแยกประเภทมี 2 รูปแบบ คือ

     1.แบบมาตรฐาน (Standard Account Form)
     บัญชีแยกประเภทในรูปแบบมาตรฐานนั้นจะเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายตัว “T” คือแบ่งบัญชีออกเป็น 2 ด้าน ด้านซ้ายคือด้านเดบิต และด้านขวาคือด้านเครดิต ดังนั้นบัญชีแยกประเภทรูปแบบมาตรฐานนี้จึงมักจะเรียกกันว่า บัญชีตัว “T” หรือ T-Account บัญชีแยกประเภทรูปแบบมาตรฐานนี้จะใช้กับสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

     2.แบบแสดงยอดคงเหลือ (Balance Account Form)
     รูปแบบของสมุดบัญชีแยกประเภทแบบแสดงยอดคงเหลือนี้ จะแสดงให้เห็นถึงยอดคงเหลือของบัญชีทันทีว่าหากมีรายการค้าเกิดขึ้นยอดคงเหลือของบัญชีนั้น ๆ จะเป็นเท่าไร ซึ่งโดยทั่วไปมักจะใช้กับสมุดบัญชีแยกประเภทย่อยไม่ว่าจะเป็นสมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ และสมุดบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ เพราะจะทำให้ทราบยอดคงเหลือของบัญชีลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ได้ทันที

     นอกจากนี้ทางบริษัท เอ็ม.ดี. ซอฟต์ มีบริการติดตั้งระบบ OpenERP, บริการพัฒนา Module OpenERP รวมไปถึงการจัดอบรมการใช้งาน Odoo9 เบื้องต้น สำหรับการนำไปใช้งาน ERP ในองค์กร ท่านสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอบรมได้ที่ ลงทะเบียนอบรม Odoo9 ค่ะ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : บริษัทควรจะเลือกใช้ โปรแกรมบัญชี หรือ ERP อีอาร์พี ดี ?การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจเกษตรความหมายระบบบัญชีคู่ Double entry bookkeeping ดับเบิล เอนทริ บุ๊คคีพอิงวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี ซอฟต์ จำกัด)

บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo