ระบบ ERP คืออะไร ?
ธุรกิจมากมายหลายเจ้านั้นมีเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ มากมายทั้งธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ธุรกิจที่ผ่านพ้นช่วงแรกมาแล้วหรือแม้กระทั้งธุรกิจที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานนั้นก็จะประสบพบเจอกับปัญหาในบริหารทั้งคนข้อมูลและงาน กระบวนการทำงานเยอะแยะมากมายแตกต่างกันไปแต่ละธุรกิจแต่ละองค์กรณ์และสำหรับองค์กรที่มีความมั่นคงลงตัวแล้วล้วนแล้วแต่ปรับมาใช้กับระบบ ERP เพื่อมาต่อเติมช่องว่างต่างๆ ได้เป็นอย่างดีหลายท่านคงสงสัยแล้ว ERP นี้มันคืออะไร เราจะมาขยายความทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ
ระบบ ERP คืออะไร ?
เชื่อว่าคงเคยผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำว่า ERP นั้นย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบซอฟต์แวร์หรือเรียกว่าโปรแกรมที่พัฒนามาเพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรณ์ทางธุรกิจเพื่อลดปัญหาทางด้านต่างๆ ในองค์กรซึ่งระบบ ERP นี้เนี่ยก็จะเป็นเหมือนโปรแกรมใหญ่ที่รวบรวมการทำงานของโปรแกรมทางด้านต่างๆ มาครบจบไว้ในที่เดียวที่เรียกว่า ERP โดยโปรแกรมทางด้านต่างๆ นั้นก็คือจำพวกแผนกต่างๆ เช่น ทางด้าน แผนกการขาย แผนกจัดซื้อ แผนกบัญชีและการเงิน แผนกการสั่งผลิต แผนกคลังสินค้า โดยที่ข้อมูลการทำงานทั้งหมดในทุกๆแผนกก็จะเชื่อมโยงถึงกันนั่นเอง
ERP มีกี่รูปแบบ
สำหรับ ERP นั้นก็จะมีแบ่งย่อยออกมาให้เลือกใช้งานกันทั้งหมด 3 แบบ ประกอบไปด้วย
- Software Package ในรูปแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวสมบูรณ์แล้วเป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาตอบโจทย์บางแผนกอาจะยังมีไม่ครบไม่สามารถเลือกอะไรได้ มีมาแบบไหนก็จะต้องใช้ไปเท่าที่มีแต่อาจจะมีราคาที่ไม่สูงมาก ในส่วนนี้จะเหมาะกับ Start-up business หรือธุรกิจที่เพิ่งจะเริ่มต้นอาจจะยังไม่เข้าใจปัญหาของตนเองและด้วยกำลังลูกค้า กำลังเงินยังไม่มากอาจจะนำตัวนี้เข้าไปทดลองก็ดูเป็นเรื่องที่ดีมากๆไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงอะไรมากมาย
- ERP Suite ในรูปแบบนี้จัดได้ว่าเป็นระบบ ERP ที่ประกอบไปด้วยการทำงานจากหลายๆแผนกหรือเรียกว่าหลายๆโมดูลแล้วก็จะประกอบไปด้วยโมดูลพื้นฐานที่กล่าวไปก่อนหน้า สำหรับรูปแบบนี้นั้นจะเหมาะกับ Stable Business หรือธุรกิจที่ผ่านช่วงเริ่มต้นมาแล้วเริ่มมีลูกค้าที่ผูกขาดมียอดขายเป็นไปตามเป้าหมายและรับรู้ถึงปัญหาและความต้องการของตนเองแล้วอาจจะขยับขยายมาใช้ระบบ ERP เข้ามาบริหารจัดการในบริษัทที่มีการเติบโตมากยิ่งขึ้น
- Customize ในรูปแบบนี้เป็นการปรับแต่งเฉพาะเจาะจงจากโมดูลพื้นฐานที่มีอยู่เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานของบริษัทตนเองเรียกได้ว่าไม่เหมือนใครอาจจะเป็น 1 : 1 เลยก็ว่าได้ สำหรับในรูปแบบนี้นั้นจะเหมาะกับ Long-established business หรือธุรกิจที่มีมานานแล้วติดตลาดสืบถอดกันมาต่อเนื่องมีลูกค้าที่มั่นคง มีรูปแบบการทำงานที่่ซับซ้อนมากขึ้น ผ่านสนามมาเยอะรู้ดีว่าต้องแก้ปัญหาจุดไหนเพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานที่ไม่เหมือนใคร ปรับแต่งเพื่อให้ออกมารองรับการทำงานในองค์กรของตนเองได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
องค์กรที่ไม่ใช้ระบบ ERP เจอปัญหาอะไร
การที่บริษัททำงานกันโดยไม่มีใช้โปรแกรมระบบ ERP เข้ามาช่วยจัดการแล้วนั้นสามารถเป็นอันตรายซึ่งอาจทำให้บริษัทเผชิญกับปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้ ทางเราก็ยกตัวอย่างมาให้ดังนี้
- ข้อมูลแยกหลายระบบ เมื่อไม่มีระบบ ERP การทำงานข้อมูลก็อาจจะกระจัดกระจายแยกกันตามแต่ละแผนกหรือโปรแกรมที่ใช้ต่างกันไม่สามารถรวมได้ การเข้าถึงตรวจสอบ เรียกใช้งานข้อมูลเหล่านั้นก็จะทำได้ยาก
- ผิดพลาดและล่าช้า การบันทึกข้อมูลอาจจะผิดพลาดไม่ตรงตามจริง บันทึกแล้วไม่รู้เก็บไว้ที่ไหนข้อมูลหายเพราะมีหลายที่ส่งผลในหลายๆ ด้านเมื่อสะสมนานเข้าจากเล็กน้อยก็จะกลายเป็นยอดจำนวนมหาศาลเสี่ยงต่อการขาดทุนสูงและตรวจสอบสต๊อก เพื่อนำเสนอขาย หรือวัตถุดิบสำหรับเตรียมผลิตก็ทำได้ยากและใช้เวลานานมากขึ้น
- ขาดความน่าเชื่อถือเมื่อข้อมูลไม่ตรงก็ส่งผลให้ขาดความน่าเชื่อถือทางด้านต่างๆ ลูกค้าไม่มีความมั่นใจเพราะรอข้อมูลนานเกินไปดูไม่เป็นมืออาชีพ
- ทำงานซ้ำซ้อน เนื่องจากมีหลายระบบส่งผลให้บางครั้งพนักงานต้องทำงานซ้ำซ้อนในจุดเดิมหลายรอบ บันทึกแล้วบันทึกอีกไม่จบในครั้งเดียว
- ไม่ทันตลาดที่เปลี่ยนแปลง ข้อมูลไม่ครบ ไม่ตรง ผิดเพี้ยน ทำให้ไม่สามารถที่จะทำการวิเคราะห์เพื่อดูแนวโน้มการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ทำให้ยอดขายลดลงได้มาก
ประโยชน์ของแต่ละส่วนประกอบของระบบ ERP
ในระบบ ERP นั้นก็จะมีโมดูลหลักๆ อยู่ซึ่งก็จะมีประโยชน์ที่แตกต่างกันไปดังต่อไปนี้
ขาย (Sales)
มีประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการขาย ลดความผิดพลาด ช่วยในการบันทึกและจัดการข้อมูลลูกค้า สามารถดูประวัติการซื้อเพื่อเปรียบเทียบราคาขาย มีการสื่อสารกับลูกค้าที่ดีทั้งการนำเสนอใบเสนอราคาผ่าน Email หรือส่งเชื่อมต่อผ่านระบบ Line ก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการวางแผนการขาย ในด้านการกำหนดราคา การจัดการโปรโมชั่น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายและผลกำไรจากยอดขายที่มากยิ่งขึ้น
จัดซื้อ (Purchase)
ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกระบวนการซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความขัดแย้ง ลดความผิดพลาดในการซื้อ และช่วยปรับปรุงความรวดเร็วและคุณภาพในการจัดหาสินค้าและบริการต่าง ๆ ด้วยการตรวจสอบประวัติการซื้อจากซัพพลายเออร์ รวมไปถึงสามารถกำหนดเงื่อนไขการสั่งซื้อซ้ำได้อัตโนมัติ เมื่อสินค้ามีจำนวนต่ำสุดตามที่กำหนดไว้ นอกจากนี้การทำใบขอเสนอราคาทำ 1 ครั้งสามารถส่งขอแยกออกเป็นหลายซัพพลายเออร์ได้
บัญชีและการเงิน (Accounting)
มีประโยชน์มากในการช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรบริหารจัดการการเงินและการบัญชีได้อย่างเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความผิดพลาดในการบัญชีและปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูลการเงินโดยมีระบบการบันทึกบัญชีทั้งรูปแบบอัตโนมัติและลงมือทำเองครบจบทุกหมวดหมู่ เอกสารสำคัญทางบัญชีและการเงินก็สามารถออกรายงานเพื่อนำมายื่นภาษีหรือนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูล หรือ วางแผนรายได้และรายจ่าย, ตรวจสอบการเงิน, บริหารการเงิน, และตรวจสอบความถูกต้องทางการเงินก็ทำได้ง่าย
คลังสินค้า (Warehouse)
ช่วยในการรักษาความถูกต้องของข้อมูลสต็อกและคลังสินค้า เช่น ปริมาณ, สถานที่, สถานะของสินค้า และยังสามารถช่วยให้ควบคุมคุณภาพของสินค้าที่เข้าออกคลังทำให้สามารถตรวจนับและบัทึกจำนวนได้แม่นยำหมดปัญหาของหายของขาดและเสียเวลาในการค้นหาเพราะสามารถที่จะตรวจสอบตำแหน่งจัดเก็บได้ นอกจากนี้ยังจัดแบ่งหมวดหมู่สินค้าได้เพื่อสะดวกในการคำนวณต้นทุน และคลังสินค้าช่วยในการวางแผนและจัดการการจัดส่งสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ทำให้การจัดส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การผลิต (Manufacturing)
ช่วยในการวางแผนการผลิตสินค้า การจัดการผูกสูตร BOM ของสินค้า ทำให้ระบบตัดเบิกวัตถุดิบได้อัติโนมัติไม่ตกหล่นส่งผลให้การจัดเก็บข้อมูลและส่งต่องานเป็นไปได้ง่ายช่วยให้วางแผนการส่งสินค้าหรืองานอื่นๆที่เกี่ยวข้องทำงานได้สะดวกและแม่นยำมากขึ้น
การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources)
ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลพนักงาน, การประเมินผล, การทำงานล่วงเวลา, และประวัติการทำงานของพนักงานรวมไปถึงจัดเก็บประวัติการอบรมในเรื่องต่างๆ ของแต่ละท่าน ช่วยในการจัดการการลา, บริหารเวลาการทำงาน, การจัดการสวัสดิการ, การวางแผนการจ้างงาน, และการจัดการค่าจ้าง ทำให้ทั้งหมดนี้สะดวกมากขึ้นจากที่เมื่อก่อนต้องเขียนเอกสารและตามล่าลายเซ็ฯจากหัวหน้างานในระบบ ERP นั้นระบบจะแจ้งเตือนไปทาง Email เลยในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องทำให้สะดวกในการทำเรื่องและตรวจสอบสิทธิ์ต่างๆ ในองค์กร
การเลือกระบบ ERP เพื่อเริ่มขึ้นระบบ
การขึ้นระบบ ERP นั้นเป็นกระบวนการที่ซัฐซ้อนและมีความสำคัญที่มีผลกระทบต่อทั้งองค์กรสิ่งที่ควรรู้สำหรับการเลือกขึ้นระบบ ERP นั้นประกอบไปด้วย
- ตรวจสอบและทำความเข้าใจของธุรกิจก่อนว่า มีปํญหาทางด้านไหน ต้องการออะไรจากระบบ ERP ในการมาปรับปรุงการดำเนินงานและกระบวนการ เมื่อทราบแล้วก็กำหนดวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ระบบ ERP ช่วยปฏิบัติกำหนดระยะเวลาและขอบเขตของโครงการ
- งบประมาณ สำหรับระบบ ERP นั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายฟังก์ชั่นต้องตวจสอบดูว่างบประมาณที่มีนั้นสอดคล้องกับ ERP แบบไหนมากที่สุดและพิจารณาพร้อมกับความเหมาะสมของระบบ ERP กับธุรกิจของคุณ ต้องเหมาะสมกับความซับซ้อนและขนาดของธุรกิจ
- วิเคราะห์และเปรียบเทียบระบบ ERP เมื่อทราบแล้วว่าจะเลือกใช้งาน ERP รูปแบบใดก็ทำการ ศึกษาและวิเคราะห์ระบบ ERP ที่มีอยู่ในท้องตลาด เปรียบเทียบคุณสมบัติ ราคา การดูแลรักษา เป็นต้น
- เลือกผู้ให้บริการ เลือกผู้ให้บริการระบบ ERP ที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร พิจารณาความเชี่ยวชาญ, ความเสถียรภาพ, การสนับสนุน, และความคืบหน้าในการพัฒนาระบบ
ผู้ให้บริการ Implementation ระบบ ERP มีอะไรบ้าง
- จะมีการประเมินความต้องการและระบุวัตถุประสงค์ของโครงการ Implementation ERP การวางแผนเป้าหมาย, การบรรลุวัตถุประสงค์, และเส้นทางการดำเนินงาน
- การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและความเหมาะสมของระบบ ERP กับธุรกิจและการออกแบบโครงสร้างของระบบ ERP ที่เหมาะกับความต้องการของลูกค้า
- การปรับปรุงหรือปรับแต่งระบบ ERP ตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าและการพัฒนาฟีเจอร์เพิ่มเติมหรือปรับปรุงการทำงานของระบบ ERP
- การทดสอบความถูกต้อง, ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผลของระบบ ERP และการปรับปรุงระบบตามข้อเสนอแนะและปัญหาที่พบระหว่างการทดสอบ
- การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กรเพื่อเรียนรู้การใช้ระบบ ERP ใหม่และการนำระบบ ERP เข้าใช้งานจริงและปรับเปลี่ยนการทำงานตามระบบใหม่
- การดูแลรักษาระบบ ERP เพื่อให้การทำงานเสถียรและประสิทธิภาพและการให้การสนับสนุน แก้ไขปัญหาและอัพเกรดระบบตามความ
ERP กับการ Integration
ในระบบ ERP นั้นก็มีบริการสำหรับการ Integration ที่มุ่งเน้นเชื่อมระบบ ERP กับระบบอื่นๆอยู่ ดังนี้
- บริการ - มีการนำระบบ ERP ไปใช้งานร่วมกับ ธุรกิจบริการทางด้านจัดงานพิธีต่างๆ งานบุญ ที่มีการจัดโปรโมชั่นสินค้าเป็นกับข้าว อาหาร อุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงแรงงานในการทำพิธี ไม่ว่าจะทำการสร้าง BOM ของกับข้าวกับส่วนประกอบต่างๆ ที่สามารถคิดต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกันได้ในแต่ละรอบ การตัดสต๊อกส่วนประกอบ
- E - Commerce - ระบบสั่งออร์เดอร์ (Web Ordering) - สามารถจัดการดูแลได้ทั้งหน้าเว็บไซต์สำหรับการสั่งสินค้าของลูกค้า และจัดการดูแลในส่วนของระบบหลังบ้าน สามารถลิ้งข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าทางหน้าเว็บไซต์เข้าตัวระบบได้ทันที นอกกจากนี้ตัวระบบสามารถคัดกรองข้อมูล เรียงตามลำดับก่อนหลัง รวมไปถึงการเรียกดูข้อมูลการจัดส่ง ข้อมูลต่างๆภายในรายการคำสั่งนั้นๆ
- โรงงานผลิต - ระบบ ERP สำหรับธุรกิจจำหน่ายและผลิตอุปกรณ์สำหรับเด็ก ทีมีการส่งออกนอกประเทศ ก็จะมีทั้งกระบวนการนำเสนอขายแบบ Proforma Invoice การจัดการส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิต
กระบวนการโหลดสินค้าขึ้นตู้สำหรับการส่งออก รวมไปถึงยังมีระบบรองรับจัดการทีมงาน Shipping - บริการให้เช่า - โปรแกรมบริหารพื้นที่เช่า เก็บค่าเช่าตลาด ระบบเช่าพื้นที่ แผงเช่า การบริหารจัดการตลาดสด ตลาดนัด พื้นที่ในห้าง
สำหรับคำว่า ERP คงทำความเข้าใจกันมากขึ้นแล้วนะครับโดยธุรกิจแต่ละแบบ แต่ละประเภทก็สามารถเลือกให้ตรงตามความต้องการของตนเองได้ง่ายๆ เพราะ ERP นั้นมีบทบาทที่สำคัญมากๆ ที่เข้ามาช่วยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในองค์กรมีประโยชน์และคุณค่าในทุกๆด้านเลยก็ว่าได้โดยท่านที่สนใจสามารถมำความเข้าใจการ Implement ระบบ ERP และ Customize ระบบเพิ่มได้นอกจากนี้ระบบ ERP ยังเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆได้ดีเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบครับทางเรามีวีดีโอแนะนำเกี่ยวกับ ระบบ ERP คืออะไร ? เพิ่มเติมให้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันด้านล่างอีกนะครับ
บทความโดย : บริษัท เอ็ม.ดี.ซอฟต์ จำกัด
บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo