หากยื่น ภ.ง.ด.1 ก ผิดไปบริษัทจะต้องทำยังไงบ้าง
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ภ.ง.ด.1 ก เป็นแบบสรุปรายการเงินได้และภาษีเงินได้ทั้งปีของพนักงานของบริษัทที่เข้าประกันสังคม ซึ่งมีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน โบนัส เป็นต้น โดยทางบริษัทจะต้องยื่นสรุปยอดเงินได้ของพนักงานทุกๆคน ไม่ว่าพนักงานคนนั้นจะมีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาหรือไม่ก็ตาม โดยจะต้องยื่นไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป

   

 

หากยื่น ภ.ง.ด.1 ก ผิดไปบริษัทจะต้องทำยังไงบ้าง

อยู่ในกำหนดการยื่น


1. กรณียื่นจำนวนพนักงานผิด
           1.1 ยื่นพนักงานมากกว่าที่มีอยู่จริง ให้ยกเลิกแบบยื่น ภ.ง.ด.1 ก รายการเดิมในระบบแล้วทำการกรอกข้อมูลใหม่ เพื่อทำการยื่นรายการที่ถูกต้อง

           1.2 ยื่นพนักงานน้อยกว่าที่มีอยู่จริง ให้ยกเลิกแบบยื่น ภ.ง.ด.1 ก รายการเดิมในระบบแล้วทำการกรอกข้อมูลใหม่ เพื่อทำการยื่นรายการที่ถูกต้อง

2. กรณีกรอกจำนวนเงินผิด
           2.1 กรอกจำนวนเงินมากกว่าที่จ่ายจริง ให้ยกเลิกแบบยื่น ภ.ง.ด.1 ก รายการเดิมในระบบแล้วทำการกรอกข้อมูลใหม่ เพื่อทำการยื่นรายการที่ถูกต้อง

           2.2 กรอกจำนวนเงินต่ำกว่าที่จ่ายจริง ให้ยกเลิกแบบยื่น ภ.ง.ด.1 ก รายการเดิมในระบบแล้วทำการกรอกข้อมูลใหม่ เพื่อทำการยื่นรายการที่ถูกต้อง

**สำหรับข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น การยกเลิกข้อมูลในระบบของสรรพากร จะใช้ได้ในกรณีที่บริษัทยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น หากบริษัททำการยื่นที่กรมสรรพากรต้องไปดำเนินการแก้ไขที่กรมสรรพากร**



เกินกำหนดที่ต้องยื่นแล้ว

1. กรณียื่นจำนวนพนักงานผิด
        1.1 ยื่นพนักงานมากกว่าที่มีอยู่จริง จะต้องกรอกรายการ ภ.ง.ด.1 ก ใหม่ ทั้งใบแนบและแบบยื่น โดยจะต้องระบุจำนวนของพนักงานให้ถูกต้องตามความจริง และเงินได้ที่พนักงานได้รับ โดยการยื่นจะเป็นการยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 1 และต้องไปดำเนินการยื่นที่กรมสรรพากรในพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่

        1.2 ยื่นพนักงานน้อยกว่าที่มีอยู่จริง สามารถกรอกรายการ ภ.ง.ด.1 ก ใหม่ ทั้งใบแนบและแบบยื่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องไปยื่นที่กรมสรรพากร การกรอกข้อมูลคือจะต้องระบุชื่อของพนักงาน เงินได้ที่พนักงานได้รับ การยื่นจะเป็นการยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 1



2. กรณีกรอกจำนวนเงินผิด
        2.1 กรอกจำนวนเงินมากกว่าที่จ่ายจริง จะต้องกรอกรายการ ภ.ง.ด.1 ก ใหม่ ทั้งใบแนบและแบบยื่น โดยจะต้องระบุจำนวนที่เป็นยอดส่วนต่างของพนักงานโดยจะต้องใส่ยอดติดลบ และต้องไปดำเนินการยื่นที่กรมสรรพากรในพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่

เช่น เงินที่พนักงานได้รับมีจำนวน 250,000 บาท แต่บริษัทยื่นเงินของพนักงานคนนี้ไป 300,000 บาท ดังนั้นบริษัทจะต้องระบุในช่อง จำนวนเงินได้ที่จ่ายทั้งปี เป็น - 50,000 หรือ (50,000) โดยการยื่นจะเป็นการยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 1

 

 

แบบฟอร์ม ภงด1 ก กรณีที่ไม่ยื่น มีรายละเอียดยอดเงินต่างๆ
กรณีกรอกจำนวนเงินผิด

 

 

         2.2 กรอกจำนวนเงินน้อยกว่าที่จ่ายจริง สามารถกรอกรายการ ภ.ง.ด.1 ก ใหม่ ทั้งใบแนบและแบบยื่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องไปยื่นที่กรมสรรพากร การกรอกข้อมูลคือจะต้องระบุชื่อของพนักงาน เงินได้ส่วนต่างที่พนักงานได้รับ

เช่น เงินที่พนักงานได้รับมีจำนวน 250,000 บาท แต่บริษัทยื่นเงินของพนักงานคนนี้ไป 150,000 บาท ดังนั้นบริษัทจะต้องระบุในช่อง จำนวนเงินได้ที่จ่ายทั้งปี เป็น 100,000 บาท การยื่นจะเป็นการยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 1

 

รายการ ภ.ง.ด.1 ก กรอกน้อยกว่าเป็นจริง

 

 

 

สำหรับหัวข้อ เกินกำหนดที่ต้องยื่นแล้ว ในข้อ 2 ทำไมบริษัทจะต้องยื่นยอดส่วนต่างที่เป็นการบวกเพิ่ม หรือยอดติดลบ ทำไมไม่ยื่นยอดที่จ่ายจริงๆไปเลย ก็เพราะว่าเมื่อมีการยื่น ภ.ง.ด.1 ก ในรอบแรก (ยื่นปกติ) ไปแล้วและสิ้นสุดการยื่นที่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว ข้อมูลนั้นก็จะถูกบันทึกในระบบของสรรพากรและสรรพากรก็จะยึดตามจำนวนเงินในแบบที่บริษัทยื่นมาเป็นยอดตั้งต้น หากบริษัทยื่นจำนวนเงินที่จ่ายจริงๆ ให้กับพนักงานไปอีกครั้งโดยไม่ได้ยื่นยอดส่วนต่างที่เป็นการบวกเพิ่ม หรือยอดติดลบ ก็จะทำให้เงินได้ทั้งปีของพนักงานมีจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น และไม่ตรงกับความเป็นจริง

เช่น พนักงาน ก มีเงินได้ทั้งปี 450,000 บาท บริษัทยื่น ภ.ง.ด.1 ก ของพนักงานรายนี้ไป 350,000 บาท เมื่อพ้นกำหนดการยื่นไปแล้ว บริษัทกลับพบว่ามีการยื่น ภ.ง.ด.1 ก ผิดไป หากบริษัทยื่นเพิ่มเติมไปโดยการระบุจำนวนเงินที่จ่ายจริง 450,000 บาท จะทำให้พนักงาน ก มีเงินได้ในระบบของสรรพรกรทั้งสิ้น 350,000 + 450,000 = 800,000 บาท ทำให้เงินได้ของพนักงาน ก สูงกว่าที่จ่ายจริง



หากบริษัทยื่น ภ.ง.ด.1 ก ผิด ก็ไม่ต้องตกใจ ให้ตรวจสอบดูก่อนว่า ณ ปัจจุบันเกินกำหนดการยื่นหรือยัง หากยังไม่เกินกำหนดบริษัทก็สามารถเข้าไปยกเลิกรายการในระบบและทำรายการใหม่ได้ แต่หากว่าเกินกำหนดการยื่นไปแล้วบริษัทจะต้องมาตรวจสอบว่าที่ยื่นผิดไปเป็นกรณีไหน เช่น ยื่นพนักงานเกิน ขาด หรือว่าระบุจำนวนเงินมากไปหรือน้อยไป แต่แนะนำว่าควรจะยื่นก่อนเกินกำหนดการยื่น ภ.ง.ด.1 และก่อนกดยืนยันจะต้องตรวจสอบข้อมูลของพนักงานให้ถูกต้องทั้งชื่อ แลขประจำประชาชน และเงินได้ที่จ่ายให้พนักงานแต่ละรายเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด

 

 

บทความ โดย MDsoft