งบการเงิน หรือ Financial Statement
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 

งบการเงิน ( Financial Statement )

     สำหรับผู้ประกอบการ ระบบบัญชีและงบการเงินเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเรียนรู้ไว้บ้างเพราะนอกจากจะทำให้รู้ผลประกอบการของธุรกิจหรือกิจการของตนเองแล้ว การศึกษาฐานะทางการเงินยังสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินสภาพคล่องของกิจการ หรือ ประเมินคุณภาพการดำเนินงานด้านการเงินได้ด้วย สิ่งแรกที่ควรศึกษาเรียนรู้หรือเข้าใจความหมายก็คือเรื่องของงบการเงิน
งบการเงิน คือ อะไร

     งบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะทางการเงินผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูก
ต้องตามที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่งหรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้ งบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย

     1. งบดุล ( Balance Sheet ) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง

     2. งบกำไรขาดทุน ( Income Statement ) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระหว่างงวดบัญชี หรือสิ้นงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง

     3. งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ ( Statement of Changes in owner Equity ) หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงใน ส่วนของเจ้าของ

     4. งบกระแสเงินสด ( Cash flow Statement ) เป็นรายงานที่แสดงถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

     5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ( Note to financial Statement ) ประกอบด้วย คำอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล

ประโยชน์ของงบการเงิน

     งบการเงินจัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินหลายกลุ่ม เช่น เจ้าของกิจการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาด ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ในอนาคต

ผู้ใช้งบการเงิน

     1. ผู้ลงทุน คือ ผู้เป็นเจ้าของเงินทุน ที่ต้องการทราบถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ ซื้อ ขาย หรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไป และอาจรวมถึงการประเมินถึงความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลอีกด้วย

     2. ลูกจ้าง คือ ลูกจ้าง และกลุ่มตัวแทน ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคง และความสามารถในการทำกำไรของนายจ้าง รวมถึงการประเมินถึงความสามารถในการจ่าย ค่าตอบแทน บำเหน็จ บำนาญ และโอกาสในการจ้างงานในอนาคตด้วย

     3. ผู้ให้กู้ คือ ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าเงินที่ให้กู้ยืมนั้น รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น จะได้รับชำระเมื่อครบกำหนดหรือไม่

     4. ผู้ขายสินค้า และเจ้าหนี้อื่น คือ ผู้ที่จะใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่า หนี้สินอันเกิดจากการค้า จะได้รับชำระเมื่อครบกำหนด รวมถึงเพื่อประเมินถึงความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการในอนาคต อีกด้วย

     5. ลูกค้า คือ ผู้ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องมีความสัมพันธ์หรือต้องพึงพากันในระยะยาว

     6. รัฐบาล และหน่วยงานราชการ คือ กลุ่มที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการเพื่อ การจัดสรรทรัพยากร การกำกับดูแล การกำหนดนโยบายทางภาษี และเพื่อเป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติ เป็นต้น

     7. สาธารณชน คือ ประชาชนผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มความสำเร็จ และการดำเนินงานของกิจการ เพราะประชาชนอาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่เกิดจากผลกระทบของกิจการ เช่น การจ้างงาน การรับซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในท้องถิ่น เป็นต้น


     จากผู้ใช้งบการเงินที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว จะเห็นว่า มีความจำเป็นมากที่นักบัญชี จะต้องทำงบการเงินให้ถูกต้อง โปร่งใส ไม่อย่างนั้น กระทบผู้ใช้ข้อมูลข้างต้น ก็จะทำให้ วิเคราะห์การลงทุน หรือ ประมาณผิดพลาดไปตามๆกัน

สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ ที่ เงินสดย่อย (Petty Cash)


บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo