Woocommerce ข้อดีเเละข้อจำกัดสำหรับทำเว็บขายสินค้าออนไลน์
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

Woocommerce ข้อดีเเละข้อจำกัดสำหรับทำเว็บขายสินค้าออนไลน์

     จากบทความที่เเล้วเราได้ทำความรู้จักกับ Woocommerce ปลั๊กอินระบบขายสินค้าของ WordPress ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงความสามารถของการเป็นเว็บไซต์ขายสินค้ารวมถึงข้อ จำกัดในการใช้งานว่าตอบโจทย์จริงหรือไมที่จะมาทำเว็บไวต์ขายสินค้า

ข้อดีของ Woocommerce

ข้อ 1. เป็น Open source
     หลังจากติดตั้ง WordPress เเล้วเราสามารถที่จะดาวน์โหลดปลั๊กอิน Woocommerce มาติดตั้งได้ทันทีเพียงไม่กี่คลิกเท่านั้นก็จะได้ระบบขายสินค้าเข้ามาใช้งาน ส่วนหน้าตาของเว็บไวต์นั้น ที่เราเรียกกันว่า Theme ก็มีทั้งฟรีเเละไม่ฟรี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะชอบสไตล์ใหน

 

 

ข้อที่ 2 ระบบตระกร้าสั่งซื้อสินค้าแบบมาตรฐานสากล
     เมื่อนึกถึงเว็บไซต์ขายสินค้าต่างๆ ทุกคนต้องนึกถึงหน้าเว็บไซต์ที่มีหมวดหมู่ของสินค้าที่เยอะเเยะเต็มไปหมด เมื่อเราจะซื้อสินค้าเราก็จะคลิกเลือกดูสินค้านั้น จากนั้นเมื่อพอใจในสินค้า ก็ทำการสั่งซื้อโดยคลิกที่ Add to cart (หยิบใส่รถเข็น) หากต้องการดุสินค้าที่สั่งซื้อคลิกที่ตระกร้าสินค้า โดยรวมเเล้ว Woocommerce สามารถทำงานได้ดีเลยที่เดียว

 

 

 

ข้อที่ 3 ระบบการคำนวภาษี

 

ระบบการคำนวภาษี ทาง Woocommerce ก็มีมาให้สำหรับสินค้าที่เรามีภาษีก็สามารถที่จะเข้าไปกำหนดค่าต่างๆ ได้ว่าจะให้คำนวนภาษีเท่าไหร่ต่อชิ้น

 

ข้อที่ 4 ทำส่วนลด(คูปองส่วนลด)
     ใน Woocommerce ส่วนของหลังบ้านจะมีให้เจ้าของร้านเพิ่มคูปองต่างๆได้ กำหนดได้ว่าจะให้คูปองส่วนลดนั้นๆ ใช้ได้ตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน กำหนดประเภทของสินค้าได้ว่าต้องการให้สินค้าประเภทนี้ใช้คูปองได้หรือไม่ จะใช้คูปองลดเป็น % หรือจำนวนเงินก็สามารถทำได้ กำหนดจำนวนของคูปองได้ จำกัดจำนวนคูปองกับจำนวน User ได้อีกด้วย ซึ่งก็เหมาะสำหรับการขายสินค้าที่ต้องการกระตู้นยอดขายให้กับร้านของเรา

 

ข้อที่ 5 คำนวนอัตราค่าขนส่ง

 

     เว็บไซต์ขายสินค้าต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการคำนวนค่าขนส่งต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ User ที่เข้ามาใช้งาน ส่วนหลังบ้าน Woocommerce เองก็มีระบบจัดการค่าขนส่งโดยระบุประเทศต่างๆได้ ระบุได้ถึงอัตราภาษีของเเต่ละประเทศ ค่าขนส่งแบบฟรีก็มีให้เลือกใช้งาน สามารถระบุยอดซื้อขั้นต่ำที่จะส่งสินค้าฟรีได้ นอกจากนี้ยังคำนวนอัตราค่าขนส่งได้ตามน้ำหนักสินค้าต่อชิ้น หรือคิดเป็น % เเละแบบเหมาจ่าย

 

ข้อที่ 6 มีระบบจัดการสมาชิก
    
ในส่วนนี้จริงๆเเล้วมันมาพร้อมกับ WordPress อยู่เเล้ว เเต่เมื่อเราติดตั้ง Woocommerce เข้าไปในส่วนของ บทบาทจะมี Customer เป็นการเพิ่มสมาชิกของเว็บก็จะเป็นลูกค้า นอกจากนั้น บทบาท Shop Manager จะทำให้เว็บไซต์ของเราสามารถมีผู้ดูเเลได้หลายคน

 

ข้อที่ 7 ระบบยืนยันการสั่งซื้อสินค้าผ่านอีเมล์ ทั้งในส่วนของการสั่งซื้อและในส่วนของการยืนยันคำสั่งซื้อ
    
ระบบการสั่งซื้อสินค้า เมื่อลุกค้าคลิกสั่งซื้อสินค้า ระบบหลังบ้านของ Woocommerce ก็จะแสดงสถานะของลูกค้า ว่ามีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา เราสามารถดูสถานะของการสั่งซื้อได้ว่า รอการชำระเงินหรือว่าจ่ายเงินเเล้ว

 

รวมถึงสามารถดูรายละเอียดของการสั่งซื้อต่างๆ ได้อีกด้วย

 

 

 

 

ข้อที่ 8 การตั้งค่ารูปภาพสินค้า
    
สำหรับรูปภาพสินค้ามีความสำคัญต่อการขายสินค้าบนเว็บไซต์อย่างยิ่ง ในการขายเเล้วเเน่นอนว่าลุกค้าอยากจะดูสินค้าตัวอย่างก่อน เช่นถ้าเราขายเสื้อผ้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงรูปเสื้อผ้า เพื่อดึงดูดให้กับลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้านั้นเอง ในส่วนนี้ Woocommerce ออกเเบบมาให้ใช้งานได้ง่ายมากๆ เพียงเเค่เข้าไปที่ตัวสินค้าจากนั้นก็คลิก Add ภาพ เพียงเท่านี้ก็ได้ภาพสินค้ามาแปะหน้าเว็บไซต์ของเราเรียบร้อย

 

ข้อที่ 9 สามารถส่งข้อความหาลูกค้าแต่ละคนได้
     อีกหนึ่งความสามารถที่จะอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของร้าน เมื่อเราเข้าไปดูรายการสั่งซื้อเเล้วต้องการจะบอกลุกค้าว่าเราได้รับเงิน เเล้วนะคะ เพื่อเป็นการแจ้งลูกค้า ใน Woocommerce จะเรียกส่วนนี้ว่า Add Note สามารถเข้าไปพิมพ์ Note ได้ทางรายละเอียดของสินค้าที่สั่งได้เลย หลังจากนั้นมันก็จะไปเเสดงยัง User ที่สั่งซื้อสินค้าเอง


ข้อที่ 10 ลูกค้าสามารถติดตามสถานะการสั่งซื้อได้
     นอกจาก เจ้าของร้านสามารถจะดูสถานะของ User ว่ามีสินค้าสั่งซื้อเข้ามาเเล้วนะ ทาง User เองก็สามารถดูสถานะของตัวเองได้เหมือนกันค่ะ ว่าโดยผ่านทาง Profile (บัญชีของฉัน)



ข้อจำกัดของการใช้งาน Woocommerce

เราเห็นถึงความสามารถของ Woocommerce ไปแล้วที่นี่มาดูข้อจำกัดกันบ้าง

1. ระบบพิมพ์ใบสั่งซื้อไม่มีมาให้ ถ้าต้องการจำเป็นจะต้อง Download มาติดตั้งเสริม

2. Woocommerce ออกแบบมาเพื่อเป็นเว็บไซต์ร้านค้าทั่วไปๆ อะไรที่เราต้องการเสริมเฉพาะ เช่นอยากจะแบ่งกลุ่ม Customer VIP กับ Customer ให้เห็นราคาของสินค้าที่เเตกต่างกันก็ไม่สามารถทำได้ ถึงเเม้จะมีระบบคูปองเข้ามาช่วยก็ตามมันก็ยังใช้งานยากอยู่ค่ะ

3. จัดการเรื่องสิทธิ์การเข้าใช้งานยากกว่า E-commerce ตัวอื่นๆ ถ้าจัดการเรื่องสิทธ์ไม่ได้ เราก็จะเพิ่ม admin (คนดูแล) ตามสิทธิ์การเข้าใช้เเต่ละเมนูได้ยาก ทำให้ขนาดของเว็บไซต์ไม่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขายสินค้าที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งตัว Customer ก็จัดระดับประเภทของลูกค้าได้ยาก บางทีเราก็จำเป็นอยากจะแยกประเภทของ Customer ตามประเภทสินค้าต่างๆ ก็ยังทำไม่ได้

4. ระบบคำนวนค่าขนส่ง ดูแล้วยังขาดอยู่ค่ะ ที่เเน่ๆคิดตามน้ำหนักของสินค้าไม่ได้ จะตั้งเรทราคาตามน้ำหนักไม่ได้ เช่น สินค้าที่จัดส่งในประเทศไทยจำเป็นอยู่ทีจะต้องจำนวนค่าขนส่งตามน้ำหนักของ ตัวสินค้าด้วย

5.ตัวสินค้าที่เพิ่มหน้าร้าน ไม่สามารถระบุภาษาที่หลากหลายได้ อันนี้ทำให้ E-commerce ตัวอื่นๆ น่าสนใจขึ้นมาเลยที่เดียว เพราะว่าในยุคปัจจุบันนี้เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับ Multi-Language

6. ใส่ลายน้ำให้กับภาพสินค้าไม่ได้ อีกหนึ่งความสามารถที่ถ้าเทียบกับ E-commerce ตัวอื่นถือว่ายังมีความจำเป็นอยู่ เพราะมันจะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกกับเจ้าของร้านอย่างมาก

7. ไม่สามารถสร้างฟังก์ชั่นสร้างตัวกรองสินค้าได้ เช่น ถ้าต้องการจะหาเรทราคาของสินค้าตั้งเเต่ 500 - 2000 ก็ไม่สามารถทำได้


สรุป Woocommerce เป็นปลั๊กอินที่สร้งมาเพื่อให้ Wordpress สามารถเป็นเว็บไซต์ CMS ขายสินค้าได้ การใช้งานโดยรวมทั่วๆไปของเว็บขายสินค้าเเล้วถือว่าทำได้ เหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ที่มีการขายสินค้าค่อยข้างที่จะมีจำนวนไม่เยอะมากนัก เพราะว่าระบบจัดการบางอย่างยังไม่มีเข้ามาทั้งนี้อาจจะต้อง Download เสริมเพิ่มเติมเเละอาจจะต้องมีการปรับแต่งความสามารถเพิ่มเยอะสะหน่อยเพื่อ ให้เหมาะกับเว็บไซต์ขายหน้าร้านขนาดใหญ่

 


พัฒนาโปรแกรมบนเว็บ PHP บริการพัฒนา Joomla Extension พัฒนาและปรับแต่งเว็บบอร์ด phpBB