F.O.B คืออะไร
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สำหรับเจ้าของกิจการ {--mlinkarticle=967--}ธุรกิจ{--mlinkarticle--}ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปเมื่อประกอบกิจการไปแล้วอาจมีการซื้อการขาย การรับเข้าหรือส่งออกระหว่างประเทศซึ่งก็มี{--mlinkarticle=282--}การจัดการ{--mlinkarticle--}รูปแบบของการขนส่งสินค้ากำหนดไว้ให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นหรืออาจต้องใช้งานบริการต่างๆจาก{--mlinkarticle=556--}ขนส่ง{--mlinkarticle--}เพื่อให้สินค้ามีความปลอดภัยถึงมือลูกค้าเป็นที่แน่นอนและในบทความนี้เราจะมาแนะนำถึงเกี่ยวกับรเงื่อนไขหรือรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศที่เคยได้ยินกันคือ FOB ว่าคืออะไร เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามถ้าต้องการทำการค้าขายระหว่างประเทศกันเลยนะครับ

 

ก่อนอื่นเรามารู้จักการค้าที่มีการใช้ข้อตกลงในการทำสัญญาซื้อขายที่เป็นแบบสากล คือการทำตามเงื่อนไขที่ทุกประเทศจะใช้เหมือนๆ กันที่เรียกกันว่า INCOTERM (International Commercial terms) โดยมีหน้าที่บอกขอบเขตในการรับผิดชอบค่าใช่จ่ายต่างๆ ระหว่างการจัดส่ง และความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของสินค้า ซึ่งมีส่วนนี้แหละเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าส่งอกกสินค้าระหว่างประเทศ 

เงื่อนไขขนส่งแบบ FOB

 

F.O.B นั้นย่อกมาจากคำว่า Free on Board หรือ  Freight On Board  เป็นเงื่อนไข Incoterms ที่ผู้ขายสินค้าจะมีขอบเขตในการรับผิดชอบในการส่งมอบสินค้า ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นดูแลให้จนถึงท่าเรือต้นทาง ผู้ขายนั้นจะรับผิดชอบในการนำสินค้าไปส่งมอบที่ท่าเรือต้นทางสำหรับการส่งออกและเมื่อสินค้าขึ้นไปบนเรือแล้วกลับกันค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ นั้นก็จะเป็นหน้าที่การดูแลของทางผู้ซื้อ ตั้งแต่สินค้าอยู่บนเรือจันถึงปลายทาง

โดย Free On Board เป็นหนึ่งใน 11 เงื่อนไข Incoterm 2020 ที่ถูกหนดขึ้นมาโดยภาหอการค้านานาชาติ หรือ International Chamber of Commerce หรือ ICC ที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย  ขอบเขตประกอบไปด้วย 

  • ความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า
  • จุดส่งมอบและจุดรับสินค้า
  • ความรับผิดชอบหากสินค้าเกิดความเสียหายหรือสูญหาย 

เงื่อนไข FOB ของผู้ส่งออก 

ความรับผิดชอบความเสี่ยงของผู้ส่งออกหรือผู้ขายนั้นจะเริ่มตั้งแต่จัดเตรียมสินค้าไปจนถึงการส่งสินค้า และการยกสินค้าขึ้นไปวางบนเรือ ณ ท่าเรือประเทศของผู้ส่งออก โดย ตามเงื่อนไข Incoterms แบบ FOB Tearm ได้แก่

  • การแพ๊คสินค้าบรรจุ
  • ใบกำกับสินค้า
  • การขนย้ายสินค้า
  • การขนส่งไปยังท่าเรือต้นทาง
  • การที่สินค้าเกิดความเสียหาย
  • กำดำเนินการพิธีศุลกากรขาออก
  • ค่าภาษีอากร
  • และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องชำระเมื่อมีการส่งออก

 

เงื่อนไข FOB ของผู้นำเข้าสินค้า 

ความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงและภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งของผู้นำเข้าสินค้าตามเงื่อนไข FOB จะเริ่มต้นเมื่อสินค้าถูกวางบนเรือเรียบร้อยแล้ว โดย ตามเงื่อนไข Incoterm แบบ FOB Term ได้แก่ 

  • ค่าขนส่งทางทะเล
  • ค่าธรรมเนียมใบตราส่งสินค้า
  • ค่าประกันภัยสินค้าทางทะเล
  • ค่าดำเนินการพิธีการศุลกากรขาเข้า
  • ค่าภาษีอากร
  • การจัดหาใบอนุญาตินำเข้า
  • ค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายและค่าขนส่งสินค้าจากท่าเรือไปสถานที่ปลายทางสุดท้าย
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากภาระของผู้ขาย

ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจที่มีการซื้อขายนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศกันเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาของการขาดทุนจำเป็นต้องรู้เรื่อง FOB ไว้นะครับและนอกจากนี้หากทำการขนส่งเป็นประจำสามารถเลือกใช้โปรแกรมเข้ามาช่วยได้อย่าง{--mlinkarticle=530--}ระบบ CRM กับ M Line Check (เอ็ม ไลน์ เช็ค) เช็คสถานะสินค้า เช็คหมายเลขส่งของ และคะแนน ตรวจสอบข้อมูลทางไลน์ {--mlinkarticle--}ได้นั่นเองและยังสามารถคิด{--mlinkarticle=1007--}ค่าขนส่ง{--mlinkarticle--}และเก็บประวัติไว้รอบต่อไปเพื่อเปรียบเทียบคำนวณราคาต้นทุนได้ดีอีกด้วย 

บทความโดย mdsoft.co.th

 

 


บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo