Barcode หรือในภาษาไทยเรียกว่า รหัสแท่ง เป็นรหัสที่ประกอบไปด้วยเส้นสีดำ , มืด และเส้นสีขาว , สว่าง วางเรียงกันเป็นแนวดิ่งสำหรับแทนรหัสตัวเลขและตัวอักษร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ Computer สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น โดยการประยุกต์ใช้กับเครื่องอ่านบาร์โค้ด Barcode reader ที่ทำงานได้อย่างรวดเร็วในปัจจุบันก็มีการพัฒนาใช้งานร่วมกับ Application หรือ Mobile Application มากมายยกตัวอย่างการใช้งาน แสกน QR Code เพื่อจ่ายและรับชำระเงินกันแบบง่าย ๆ นั่นเอง เราจะมาทำความรู้จัก กับบาร์โค้ดทั้งหลายกันที่บทความนี้ครับ
หลักการทำงานของ Barcode คือจะถูกอ่านค่าด้วยเครื่องแสกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บใน Computer โดยตรงไม่ต้องกดปุ่มใดๆ ที่แป้นพิมพ์ ทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น พกพาได้สะดวกอีกด้วย โดยบาร์โคดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บาร์โค้ด 1 มิติ (1D) และบาร์โค้ด 2 มิติ (2D)
- บาร์โค้ด 1 มิติ (1D) มีลักษณะเส้นขาวดำที่มีความหนาบางสลับกัน เหมาะกับการใช้งานทั่วไป จำพวกข้อมูลไม่เยอะ เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ Serail no. หรือ Lot no. ของสินค้านั้นเป็นตัน โดยบาร์โค้ด 1 มิติ (1D) ที่นิยมใช้งานกันในประเทศไทยมีอยู่ 3 แบบ ดังต่อไปนี้
- EAN 13 หรือ ที่เรียกว่า Europaen Artic Numbering เป็นแบบที่ถูกยอมรับมากที่สุดในโลกที่เป็นมาตราฐานสากลที่ต้องไปขึ้นทะเบียนกับ GS1 เป็นตัวเลข 13 หลัก นิยมใช้กับสินค้า อุปโภคบริโภคทั่วไป EAN 13 เนี่ยมีลักษณะของชุดตัวเลขจำนวน 13 หลัก ดังนี้
- 3 หลักแรก สื่อถึง รหัสของประเทศผู้ผลิต
- 4 หลักถัดมา สื่อถึง รหัสโรงงานผลิต
- 5 หลักถัดมา สื่อถึง รหัสของสินค้า
- Code 39 มีการเพิ่มเครื่องหมาย "*" ที่หลักแรกและสุดท้ายเพื่อบอกตำแหน่งเริ่มต้นและสิ้นสุด จำกัดตัวอักษรเฉพาะ A-Z,0-9, +, -, %, $
- Code 128 ชนิดนี้ถูกนำมาใช้มากกว่า Code 39 เพราะใช้ตัวอักษรและอักขระพิเศษได้ทุกตัวบนคีย์บอร์ด Code 39 และ Code 128 ไม่ต้องทำการขึ้นทะเบียน นำมาใช้ได้ฟรีกับสินค้าทั่วไปเป็นรหัสที่ไม่กำหนดจำนวนหลัก ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องอ่านบาร์โค้ดและไม่ต้อมีตัวเลขสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด สามารถแสดงได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษรรวมถึงอักขระพิเศษ (ASCII)
- EAN 13 หรือ ที่เรียกว่า Europaen Artic Numbering เป็นแบบที่ถูกยอมรับมากที่สุดในโลกที่เป็นมาตราฐานสากลที่ต้องไปขึ้นทะเบียนกับ GS1 เป็นตัวเลข 13 หลัก นิยมใช้กับสินค้า อุปโภคบริโภคทั่วไป EAN 13 เนี่ยมีลักษณะของชุดตัวเลขจำนวน 13 หลัก ดังนี้
- บาร์โค้ด 2 มิติ นั้นเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ สามารถบรรจะข้อมูลได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน บรรจุข้อมูลได้ถึง 4,000 ตัวอักษร หรือ 200 เท่า ของ 1 มิติ สามารถบรรจุนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาไทย จีน เกาหลี หรือ ญี่ปุ่น และเมื่อมีส่วนที่เสียหายยังสามารถถอดรหัสได้ด้วย นืยิมใช้ทั่วไป มี 3 แบบ ดังต่อไปนี้
- PDF417 หรือที่เรียกว่า Portable Data File บาร์โค้ดจะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า เครื่องจะอ่านได้ในทิศทางเดียว เช่น อ่าน จากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย หรือบนลงล่าง ล่างขึ้นบน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดและถูกต้อง
- Data Matrix รูปแบบจะมีทั้งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็ก เหมาะกับ อุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิค
- QR Code หรือที่เรียกว่า Quick Response เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมาะสำหรับเว็บไซต์ จ่ายบิล ชำระเงิน เป็นต้น
- PDF417 หรือที่เรียกว่า Portable Data File บาร์โค้ดจะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า เครื่องจะอ่านได้ในทิศทางเดียว เช่น อ่าน จากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย หรือบนลงล่าง ล่างขึ้นบน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดและถูกต้อง
สำหรับบาร์โค้ดก็สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับแต่ละประเภทของงานหรือสินค้า ขอให้ทุกท่านอ่านและประกอบการตัดสินใจได้เมื่อเลือกชนิดบาร์โค้ดได้แล้วอย่าลืมคำนึงถึงประเภทของสติ๊กเกอร์เพื่อรองรับการนำไปใช้งานจริงเพียงเท่านี้การซื้อการขายในธุกิจก็จะสะดวก ง่ายและดูมีมาตราฐานเพิ่มมากขึ้นแล้วเพียงนำ บาร์โค้ดมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจของท่าน และในระบบโปรแกรม MDERP นั้นได้มีการนำบาร์โค้ดรูปแบบ EAN 13 มาใช้งานในระบบ เพราะเป็นที่ถูกยอมรับมากที่สุดในโลกที่เป็นมาตราฐานสากล ที่รองรับส่งสินค้าออกทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย
และนอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงระบบการทำงานของธุรกิจท่านได้ด้วยการมาใช้งานโปรแกรม ระบบ ERP เพื่อทำให้งานของท่านมีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากจากเดิมได้อย่างแน่นอน
บทความโดย MDSoft