ความแตกต่างระหว่างภาษีทางตรงกับภาษีทางอ้อม
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 

ความแตกต่างระหว่างภาษีทางตรงกับภาษีทางอ้อม
ความแตกต่างระหว่างภาษีทางตรงกับภาษีทางอ้อม

 

ความแตกต่างระหว่างภาษีทางตรงกับภาษีทางอ้อม

ภาษี หมายถึง เงินที่รัฐบาลเก็บจากประชาชน เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ

  1. ภาษีทางตรง คือภาษีที่ภาระตกกับบุคคลที่กฎหมายประสงค์ให้รับภาระ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีทางตรงซึ่งที่จัดเก็บตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์เงินสด หากเงินได้ประเภทใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น จะต้องบัญญัติไว้โดยกฎหมายว่าเงินได้ประเภทนั้นได้รับการยกเว้น หน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ กรมสรรพากร
    ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีอากรที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคหรือเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน
    - ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ในประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 10% แต่ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 7% เป็นประจำทุกปี โดยที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 ใน 9 ที่เก็บได้ จะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่เหลืออีก 8 ส่วนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลกลาง
    - ภาษีธุรกิจเฉพาะ 
    - อากรแสตมป์ 

ภาษีจะกลับมาตอบแทนประชาชนใน 2 ลักษณะ คือ

  1. ภาษีที่นำไปจ่ายเป็นเงินเดือนและค่าจ้างแก่ข้าราชการที่ให้บริการประชาชน และค่าใช้จ่ายของหน่วยราชการ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น
  2. ภาษีที่นำไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน พัฒนาโรงเรียนพัฒนาแหล่งน้ำ ค่าเงินอุดหนุนกลุ่มต่างในชุมชน

ทั้งนี้ ทางบริษัท เอ็.ดี.ซอฟต์ จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ ERP เพื่อให้ตอบสนองความต้องการ และ ครอบคลุม การใช้งาน ทุกแผนกภายในองค์กร เพื่อการจัดการบริหารที่ง่าย ยกตัวอย่างเช่น การออกเอกสารที่เกี่ยวกับบัญชีต่าง ๆ เช่น ใบแจ้งนี้, ใบวางบิล, ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จ, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย, ใบสำคัญต่าง ๆ, รายงานภาษีซื้อ - ขาย, รวมไปถึงงบการเงินต่าง ๆ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ

บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี ซอฟต์ จำกัด)

บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo