ข้อควรรู้ก่อนใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 
ข้อควรรู้ก่อนใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก
ข้อควรรู้ก่อนใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก

จะใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ฟรีใน 72 ชั่วโมงแรกต้องรู้อะไรบ้าง?

     1. “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) คืออะไร คือนโยบายของรัฐบาล ที่เพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนในการใช้สิทธิรักษาพยาบาล กรณี เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยไม่มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของการดูแลรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต

     2.ใครบ้างที่สามารถใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” นี้ได้ ต้อง เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้และเป็นโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ โดยเริ่มที่สามกองทุนก่อน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง),กองทุนประกันสังคม ,กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

     3. เจ็บป่วยฉุกเฉินแค่ไหนถึงจะใช้สิทธิ UCEP ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ กพฉ.ประกาศกำหนด และ รายละเอียดเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) กำหนดกรณีกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

     4. เมื่อรักษาตัวครบ 72 ชั่วโมงแล้ว จะมีขึ้นตอนการส่งตัวผู้ป่วยอย่างไร เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ก็จะมีการแจ้งเข้าระบบ ของ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) และเมื่อทางโรงพยาบาลเอกชนประเมินอาการผู้ป่วย ก็จะแจ้ง กลับไปยังสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อที่จะให้แจ้ง กองทุนเจ้าของสิทธิดำเนินการประสานไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วย เพื่อเตรียมการรับย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ระบบปกติให้ได้ทันภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เมื่อครบ 72 ชั่วโมงแล้วหรือพ้นภาวะวิกฤตแล้ว

     ทั้งนี้ ประชาชนที่มีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โทร. 0 2872 1669 หรือสายด่วน สปสช.1330

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข