5 ขั้นตอนเพื่อพิสูจน์แนวคิดสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ประสบความสำเร็จ
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

5 ขั้นตอนเพื่อพิสูจน์แนวคิดสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ประสบความสำเร็จ บทความนี้กล่าวถึงข้อพิสูจน์แนวคิด PoC เป็นการสร้างหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแนวคิด โดยสรุปว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมเข้าสู่ตลาดได้อย่างไร จะทำงานอย่างไร และใครคือกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการเขียนการพิสูจน์แนวคิดไม่ได้เคร่งคัดเหมือนกับงานเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่น บทความวิจัยสำหรับการพัฒนา แนวคิดซอฟต์แวร์ PoC อภิปรายตามขั้นต่อไปนี้

 

Developers หัวใจของโปรแกรมต่างๆ
Developers คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ต้องมีกระบวนทางคิดที่เป็นเชิงตรรกะ

ขั้นตอนที่ 1 คือการพิสูจน์ความต้องการ
หากผู้คนหรือผู้ใช้งานต้องการ เป็นสิ่งเหมาะสมที่จะเสียเวลาเเละเงินในการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยคนเหล่านั้นอาจเป็นพนักงานของบริษัทที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานหรืออาจเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่บริษัทไม่ได้ให้บริการอยู่ในปัจจุบันแต่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครคุณจำเป็นต้องรู้ว่าซอฟต์แวร์ของคุณสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้หรือไม่

ขั้นตอนที่ 2 คือการหาจุดผิดพลาดเพื่อแก้ไขและรับคำติชม
ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาแต่ละจุดที่คุณมีในขั้นตอนแรก หลังจากการระดมความคิดแล้ว คุณต้องประเมินวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้โดยอ้างอิงถึงต้นทุน การแข่งขัน ไทม์ไลน์ ความท้าทายด้านเทคโนโลยี ฯลฯ เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นคุณจะมีแนวคิดที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อคุณมีวิธีแก้ปัญหาแล้วให้กลับไปที่ผู้ใช้งานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คุณต้องเรียนรู้ปฏิกิริยา การตอบสนองของพวกเขาจากนั้นให้คุณอธิบายการทำงานของผลิตภัณฑ์เเละขอความคิดเห็นจากพวกเขาเพิ่มเติม เนื่องจากว่าข้อมูลที่ได้จากเขา เป็นข้อมลที่มีประโยชน์มากเพราะทำให้คุณพัฒนาต่อไปได้

ขั้นตอนที่ 3 คือการออกแบบที่ตรงความต้องการสำหรับการใช้งานของผู้ใช้
ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างแบบที่ครอบคลุมโซลูชันหรือตัวเลือกอื่นๆ เป็นขั้นพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อทดสอบกับคนที่คุณสำรวจหรือกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการสำรวจ การออกเเบบนี้คุณควรคิดฟีเจอร์เเละให้ความสำคัญกับ UI/UX โดย UI หรือ User Interface คือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน หรือ ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน และ UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือระบบต่าง ๆ เพื่อรับคำติชมเพิ่มเติมจากนั้นบันทึกการใช้งานสินค้าเพื่อติดตามว่า interface หรือการเชื่อมโยงข้อมูล ใช้งานง่ายเพียงใด และดูว่าคุณข้ามฟังก์ชันที่สำคัญไปหรือไม่

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดฟีเจอร์เบื้องต้นสำหรับทดลองใช้งาน
MVP หรือ Mininum Viable Product คือ Product ที่มีฟีเจอร์ในการให้บริการน้อยที่สุด ที่คุณสามารถใช้มันประเมินตลาดได้เเละช่วยให้คุณสามารถทดสอบผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากผู้สำรวจกลุ่มเล็กไปจนถึงกลุ่มใหญ่ที่เป็นตัวแทนของตลาด ในการสำรวจมันช่วยให้คุณมีโอกาสได้รับคำติชมมากขึ้นเเละสามารถบอกคุณได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณทำตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปัจจุบันหรือไม่

ขั้นตอนที่ 5 คือการออกแบบแผนงาน
จากข้อมูลทั้งหมดที่คุณรวบรวมในแต่ละขั้นตอน ให้คุณสร้างแผนงานที่อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปกระบวนการทีละขั้นตอน ให้คิดว่าแผนงานนี้เป็นชุดของพิมพ์เขียวสำหรับการสร้างอาคาร มันจะเป็นแนวทางที่ทำให้ทุกคนเข้าใจตรงกันผ่านผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาเเล้วและคุณจะรู้เป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น

 

ประเด็นหลักสำหรับการสร้างการพิสูจน์แนวคิดในแต่ละขั้นตอนเราต้องเน้นการรวบรวมคำติชมจากเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ยิ่งคุณรู้ข้อมูลว่าผู้ใช้งานต้องการอะไรคุณก็จะสามารถมุ่งเน้นไปที่ฟีเจอร์เหล่านั้นได้เร็วยิ่งขึ้น มือใหม่หลายคนล้มเหลวเนื่องจากข้ามการพิสูจน์แนวคิดเพราะพวกเขามั่นใจว่าไอเดียของพวกเขาดีที่สุดเเละพร้อมรีบเร่งออกสู่ตลาด ดังนั้นควรใช้เวลาไตร่ตรองอย่างรอบคอบตาม PoC เพราะ Poc เป็นการเริ่มต้นที่ดีสู่การเปิดตัวตลาดที่คุ้มค่า