วีดีโอออนไลน์ Features Odoo ระบบ ERP สำหรับองค์กร
สำหรับ ผู้เข้าอบรม สามารถทำการเข้าสู่ระบบเพื่อดูวีดีโอได้ทันที
สำหรับ ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมอบรม สามารถทำตาม 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1. สมัครสมาชิก
2. ชำระค่าบริการ บจก. เอ็ม.ดี.ซอฟต์ ไทยพานิชย์ 235-231135-3
3. แจ้งการชำระเงิน E-mail [email protected]
4. เข้าสู่ระบบเพื่อรับชมวีดีโอ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร : 08-1619-8579

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

วีดีโอ อบรมการนำ Odoo10 ใช้งานระบบ ERP สำหรับองค์กร ครั้งที่ 22 (Intro)
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

*** คำแนะนำสำหรับการรับชมวีดีโอ กรุณาเข้าสู่ระบบ

ดูวีดีโออบรมการนำ Odoo10 ใช้งานระบบ ERP สำหรับองค์กร ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ไม่ได้เข้าอบรมหากสนใจเกี่ยวกับ Odoo10 สามารถติดต่อซื้อวิดีโออบรมตามที่อยู่ด้านล่างได้เลย.. 

วีดีโอ อบรมการนำ Odoo10 ใช้งานระบบ ERP สำหรับองค์กร วันที่ 24 มิถุนายน 2560 (Part 1)

วีดีโอ อบรมการนำ Odoo10 ใช้งานระบบ ERP สำหรับองค์กร วันที่ 24 มิถุนายน 2560 (Part 2)

วีดีโอ อบรมการนำ Odoo10 ใช้งานระบบ ERP สำหรับองค์กร วันที่ 24 มิถุนายน 2560 (Part 3)

 

อบรมแนะนำ Features odoo 10 เพื่อการนำไปใช้ใน ERP ขององค์กร   วีดีโอการอบรมแนะนำ Features Odoo 10 เพื่อใช้งาน ERP ในองค์กรออนไลน์ ได้ทำการรวบรวมมาให้คุณไว้ที่เดียวแล้ว
- ภาพรวมในการทำงานของ Odoo10   ขั้นตอนในการดูวีดีโอออนไลน์ 3 ขั้นตอนง่ายๆ
- Company Setting- User&Employee     1. สมัครสมาชิกและเข้าสู่ระบบ
- HR : Recrutiment Process, Attendance,  Timesheet, Leave Management&Expense     2. ชำระเงิน
- การตั้งค่าในส่วนการทำงานหลักในแต่ละส่วนงาน     3. แจ้งรายละเอียดการชำระเงิน
>> Contacts, Charts of Account, Taxes,  Terms of Payment, UOM, Products, Warehouse & Location    
- Workflow การทำงาน Sales, Purchase,  Inventory และ Accounting   สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
- Project Management      E-mail : [email protected]
- MRP      Tel.      : 08-1619-8579
- Point of Sales    
- Odoo Online   สนใจเข้าร่วมอบรมสามารถลงทะเบียนได้ที่
- Website       ลงทะเบียนอบรมแนะนำ Features odoo 10
- Q/A    
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ รายละเอียดการเข้าร่วมอบรม    

 

1. ภาพรวมการทำงานของ Odoo 10
- ระบบนี้เป็นระบบ Open source ที่สร้างนำโครงสร้างที่มีอยู่ภายในระบบมาพัฒนาต่อยอดได้โดยไม่มีค่า Licenes ใดๆ
- ระบบได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมจากเดิม เช่น ในขั้นตอนของการแก้ไขเอกสารการซื้อขาย ก็จะเพิ่มฟังก์ชั่นในการแนบไฟล์เอกสารต้นฉบับที่ถูกแก้ไขไปแล้ว เพื่อสามารถดู
ประวัติ หรือข้อมูลเดิมๆได้
- สามารถเพิ่มตัวแปลภาษาได้มากกว่าที่ระบบ Default มาให้ แต่ว่าต้อง Load Translation มาเพิ่มเติมเอง
- สำหรับคอลัมน์ในการแสดงผลสามารถเพิ่มเองได้ (เขียนโปรแกรมเสริม)
- สำหรับโมดูล User & Employees จะมีความแตกต่างกันที่ว่า User เราสามารถเพิ่มได้ไม่จำกัดและสามารถกำหนดสิทธิในการใช้งานในระบบได้ด้วย แต่ Employees หมายถึง ข้อมูลพนักงานภายในองค์กรของเราทั้งหมด เมื่อเราเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ไปแล้วสิ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือบัญชี เพราะจะมีเรื่องของการจ่ายเงินเดือนหรือการเบิกจ่ายต่างๆด้วย

2. โมดูล HR
- Recrutiment Process เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลโครงสร้างขององค์กร ว่าภายในองค์กรมีแผนกอะไรบ้าง ในแต่ละแผนกประกับไปด้วยกลุ่มใดหรือทีมใดบ้าง เช่น แผนกการเงินและบัญชี มีแผนกย่อย 2 แผนก คือ แผนกการเงิน และ แผนกบัญชี เป็นต้น
สิ่งสำคัญในการกำหนดโครงสร้างขององค์กร
- แผนก
- ตำแหน่ง
- เงินเดือน
- Attendance เป็นเมนูสำหรับตรวจสอบเวลาเข้าทำงาน-เวลาเลิกงาน
- Leave Management ระบบจัดการเกี่ยวกับวันลางานของพนักงานในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าวันลาต่างๆ , กำหนดจำนวนวันลา, กำหนดวันลาให้กับพนักงานภายในองค์กร เป็นต้น
- Expense เป็นระบบทำเอกสารเกี่ยวกับการส่งบิลเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปให้กับฝ่ายบัญชี

3. Accounting เมนูนี้จะรวมทุกการทำงานของงานบัญชีไว้ทั้งหมด
Code ของผังบัญชี ?????
4. Payment Term คือ ระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกค้าจ่ายชำระค่าสินค้า
- term type ประกอบด้วย Balance, Percentage, Fixed Amount
- Due date กำหนดจำนวนวันในการจ่ายเงิน หรือจะสร้างเงื่อนไขขึ้นมาเองก็ได้
5. Price List คือการกำหนดราคาโปรโมทชั่นให้กับ Product ต่างๆ สามารถกำหนดช่วงเวลาในการกำหนดราคาโปรโมชั่นได้ , สามารถตั้งค่าราคาโปรโมชั่นให้กับสินค้าได้ เช่น ใช้ราคาโปรโมชั่นกับทุกสินค้า, ใช้ราคากับกลุ่มสินค้า, กำหนดตาม Variant ได้ เป็นต้น, สามารถกำหนดวิธีในการคำนวนราคาโปรโมชั่นได้ เช่น Fix Price, Percentage, Formula เป็นการสร้างเงื่อนไขเองว่าจะให้คำนวนอย่างไร เป็นต้น
6. Products & Product Variant ต่างกันอย่างไร
Products Varaint สามารถระบุลักษณะของสินค้าได้มากกว่าและกำหนดราคาเฉพาะลักษณะได้เลย แล้วก็เอาราคาที่กำหนดในนี้ไปคิดเงิน หรือขายของได้เลย
7. MRP คือ Meterial Resource Planing เกี่ยวข้องกับการผลิต
- ระบบนี้จะทำการคำนวณจำนวนสินค้าที่จะสามารถผลิตออกมาได้จากวัตถุดิบต้นทุน ซึ่งในระหว่างนั้นก็จะสามารถเลือกสูตรของการผลิตที่จะนำมาใช้ในการผลิตนั้นๆได้ และระบบยังสามารถคำนวณจำนวนสินค้าที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตสูตรสินค้านั้นๆได้ด้วย
8. Point Of Sale จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ มีหน้าร้าน และ ส่วนคิดเงิน ตามแต่การตั้งค่าที่จะใช้งานในส่วนนั้นๆ ซึ่งเมนูนี้จะเหมาะกับการใช้งานในร้านอาหาร
มีส่วนที่สามารถกำหนดวิธีในการรับชำระเงินได้ เช่น เงินสด, บัตรสมาชิก, บัตรเครดิต เป็นต้น
- ส่วนของ Cash Control เป็นเมื่อระบบการจัดการของเครื่องคิดเงิน ตรวจเช็คจำนวนเงินทอนก่อนเปิดร้าน เพื่อคำนวณยอดขายประจำวัน
- ส่วนของการออกแบบบิล (Receipt) สามารถกรอกข้อมูล Header และ Footer ได้ในส่วนนี้เลย
- สามารถกำหนดส่วนลดท้ายบิลได้สำหรับกลุ่มสมาชิกลูกค้าได้
- กำหนดจำนวนจุดชำระเงิน
9. Session สำหรับ Monitor จุดชำระเงินต่างๆที่กำลังทำงานอยู่ตามที่เราเปิดไว้
- การใช้งานหน้าร้าน เราจะใช้งานที่เมนู Dashboard ซึ่งการใช้งานในส่วนนี้สามารถเปิดการคิดเงินค้าสินค้าได้ทีละหลายๆคนได้ เช่น คนแรกไหยิบของเพิ่ม เราสามารถพักข้อมูลของคนแรกไว้ก่อนได้แล้วไปคิดเงินให้คนที่สองได้ เป็นต้น
- ตัวอย่างของการใช้งานที่ร้านอาหาร หน้าเมนูการใช้งานจะต่างจากร้านค้าทั่วไป สำหรับร้านอาหารจะแบ่งการจัดการระบบเป็นชั้นๆ ในแต่ละชั้นประกอบด้วยกี่โต๊ะและตำแหน่ง และแต่ละโต๊ะรับลูกค้าได้กี่คน
- การออกแบบใบเสร็จก็จะมี 2 แบบ คือ ใบเสร็จเล็กๆ ทั่วไป และใบเสร็จใบใหญ่ที่มีรายละเอียดครบถ้วน (ใบ Invoices)
- กรณีที่ระบบเครือข่ายมีปัญหาระบบก็ยังสามารถทำงานได้ต่อ แล้วพอระบบกลับมาใช้งานได้ต่อ ข้อมูลต่างๆ ระบบก็จะจัดเก็บบันทึกข้อมูลให้เองอัตโนมัติ

10. Odoo Online จะเป็นการนำข้อมูลไปใช้งานหน้าเว็บไซต์
- CMS: Content Management System จะเป็นเว็บไซต์ทั่วไปที่ไม่มีการขายผ่านหน้าร้าน
-Tools ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ Joomla, Drupal เป็นต้น
- Web blog ก็เป็นเวบที่เอาเรื่องราวต่างๆมาแชร์
- Tools ที่ใช้ในการพัฒนา Wordpress เช่นนำมาเขียนรีวิวสินค้า เป็นต้น แต่หลังๆมามีนำมาใช้ทำ Web E-commerce ด้วย แต่จริงๆแล้วมันไม่ได้ถูกนำมาใช้งานที่ถูกวัตถุประสงค์ของ Tools
- Web Board ตัวอย่างเช่น พันทิป
- Web E-commerce เว็บขายของออนไลน์
- Live Chat เป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า คอยตอบคำถามลูกค้าที่สอบถามมาในช่องทาง Live Chat ผ่านหน้าเว็บไซต์

11. การตั้งค่าเริ่มต้นของการใช้งานเว็บไซต์ของ Odoo 10 (หลังบ้าน)
- ถ้าเป็นการใช้งานขององค์กรเราก็จะต้องเพิ่มชื่อองค์กร หรือชื่อบริษัท เป็นต้น
- Google Analytics Key เป็นตัวช่วยในการจัดเก็ยสถิติที่ต้องเป็นการใช้งานกับ Google ซึ่งจะต้องสมัครใช้งานในส่วนนี้ก่อนแล้วก็เอาคีย์มาใส่
- Google Map ก็เป็นการใช้งานร่วมกับ Google เหมืนอกัน จะต้องสมัครการใช้งานก่อน
- การกำหนดภาษาของเว็บไซต์ ว่าอยากให้หน้าเว็บไซต์แสดงเป็นภาษาอะไร และกำหนดภาษาเริ่มต้นด้วยว่าเมื่อลูกค้าเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราแล้ว เว็บไซต์จะแสดงภาษาอะไรเป็นภาษาแรก
12. เวลาจดโดเมนก็กำหนด DNS ให้ชี้มาที่ URL ที่เราสร้างไว้
13. การจัดการหน้าเว็บไซต์ สามารถออกแบบหน้าเว็บไซต์ได้ง่ายๆเลย โดยใช้เครื่องมือที่มีใน Odoo ซึ่งใช้ได้ง่ายมากๆ เพียงแค่ลาก component ที่ต้องการไปวางในพื้นที่ของหน้าเว็บไซต์ตามตำแหน่งที่เราต้องการได้เลย
14. Odoo E-commerce
- ตัวอย่าง Open source ได้แก่ Magento ช้ามาก แต่ฟังก์ชั่นการใช้งานนั้นสามารถนำไปเชื่อมต่อกับการใช้งานอื่่นๆได้มาก, Joom Shopping เป็นฟังก์ชั่นที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจาก Joomla, Woo Commerce เป็นระบบที่ถูกพัฒนาในเครือข่ายของ Wordpress เป็นต้น
- การใช้งาน E-commerce ของ Odoo จะต้องมีการตั้งค่าที่หลังบ้านก่อน คือต้องไปตั้งค่าที่ Products ก่อนว่าสามารถนำไปขายหน้าเว็บไซต์ได้ไหม
- ตั้งค่าการรับชำระผ่านหน้าเว็บไซต์
- เมื่อมีการลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์แล้ว ID นั้นๆก็จะใช้ได้กับ Forum, Website, E-commerce
- กรณีที่เปลี่ยนราคาขายสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ ข้อมูลราคาหลังบ้านก็จะอัพเดทตามไปด้วย
- web live chat เป็นฟังก์ชั่นที่มีอยู่ใน Odoo อยู่แล้ว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งเมื่อมีลูกค้าสอบถามข้อมูลเข้ามา Admin ที่ดูแลเรื่องนี้ก็จะ Log in ที่หลังบ้านเพื่อเข้ามาตอบคำถามลูกค้า ซึ่ง Admin ที่รับผิดชอบแต่ละส่วนนั้นจะต้องเพิ่มสิทธิก่อนว่าต้องดูแลที่เว็บไซต์ไหนบ้้าง ส่วนไหนบ้าง